เมนู

อรรถกถาสัทธาสูตร



สัทธาสูตรที่ 10.

คำว่า อิเม โข เต ธมฺมา ได้แก่มรรค 3
เบื้องบนที่พร้อมกับวิปัสสนา. คำว่า ธรรมเหล่าใดที่ข้าพเจ้าฟังมาก่อน
แล้วเที่ยว
ได้แก่ ธรรมเหล่าใด ของพวกท่านที่กำลังกล่าวอยู่ว่า อินทรีย์
แห่งอรหัตผล มีอยู่ทีเดียว เป็นธรรมที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาก่อนแล้ว. คำว่า
และถูกต้องด้วยกาย คือ และถูกต้อง คือได้เฉพาะด้วยนามกาย. คำว่า
และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา คือ และเห็นแจ้งแทงตลอดอย่างยิ่ง
ด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา. คำว่า พระเจ้าข้า ก็ศรัทธาอันใดของเขา คือ
ศรัทธาอันไหนนี้ คือ ศรัทธาที่ประกอบด้วยอินทรีย์ทั้ง 4 อย่างที่ตรัสไว้ใน
หนหลังแล้ว. ก็แหละ ศรัทธา เป็นศรัทธาสำหรับพิจารณา จริงอยู่ สัมปยุตต-
ศรัทธา เป็นศรัทธาที่เจือกัน. ปัจจเวกขณศรัทธาเป็นโลกิยะอย่างเดียว. คำ
ที่เหลือทุกบท ตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสัทธาสูตรที่ 10
จบชราวรรควรรณนาที่ 5

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ชราสูตร 2. อุณณาภพราหมณสูตร 3. สาเกตสูตร 4. ปุพพ-
โกฏฐกสูตร 5. ปฐมปุพพารามสูตร 6. ทุติยปุพพารามสูตร 7. ตติยปุพพา
รามสูตร 8. จตุตถปุพพารามสูตร 9. ปิณโฑลภารทวาชสูตร 10. สัทธา
สูตร

สูกรขาตวรรคที่ 6



1. โกสลสูตร*



ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม



[1023] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โกสลพราหมณคาม
ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว
ตรัสว่า
[1024] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก
สีหมฤคราชโลกกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มี
ความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า
เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
[1025] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป
เพื่อความตรัสรู้.
[1026] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก
สีหมฤคราชโลกกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความ
กล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอด
แห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือน
กัน.
จบโกสลสูตรที่ 1